การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพู
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่พ.ศ. 2537-2562
1.
บทนำ
ปราสาทวัดพู หรือปราสาทวัดภู ถือเป็นโบราณสถานและเป็นมรดกโลกแห่งที่สองของประเทศลาว
โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO ในปีพ.ศ. 2545
ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูเขาทางตะวันตกของแม่น้ำโขง ตอนใต้ของเมืองจำปาสัก ภูเขาที่ตั้งของปราสาทวัดพูแห่งนี้ชาวลาวนิยมเรียกชื่อว่า
“ภูเกล้า” หมายถึงความเคารพประดุจยกไว้เหนือเศียรเกล้า
ตัวปราสาทวัดพูหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และวางแผนผังเป็นแนวยาวตามลักษณะของปราสาทเขมรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา
ปราสาทวัดพูแห่งนี้เดิมทีแล้วเคยเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ที่ว่าด้วยว่าเป็นสถานที่สถิตของพระศิวะ ตามความเชื่อไศวะนิกาย ตลอดจนปัจจุบันที่เป็นแหล่งสักการะของพุทธศาสนิกชนและถือเป็นสถานที่แห่งอารยธรรมโบราณถึง
สามสมัยด้วยกัน ในช่วงอาณาจักรเจนละ อาณาจักรขอม และอาณาจักรล้านช้าง แสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเชื่อและวัฒนธรรมของในแต่ละช่วงยุคสมัยได้อย่างหลากหลาย
วัตถุประสงค์ของการการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพู
เพื่อศึกษาแหล่งอารยธรรมโบราณและการถูกนำเสนอในรูปแบบต่างๆของแต่ละช่วงเวลาและในด้านต่างๆ
โดยใช้การศึกษาด้วยเอกสาร ประเภทวารสาร วิทยานิพนธ์ จากฐานข้อมูล Thaijo
และห้องสมุด นอกจากนี้ยังมีการศึกษาด้วยการใช้สื่อวีดีทัศน์จาก Youtube
ซึ่งจะทำให้เห็นมุมมองการนำเสนอปราสาทวัดพูในหลากหลายรูปแบบ ผู้จัดทำได้แบ่งการนำเสนอข้อมูลเอกสารและสื่อวีดีทัศน์จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพู
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่พ.ศ. 2537-2562 ดังนี้
2.1 ด้านศาสนาและความเชื่อ
2.2 ด้านการท่องเที่ยว
2.3 ด้านประวัติศาสตร์
2.4 ด้านศิลปกรรม
2.5 ด้านสื่อวีดีทัศน์
2.
งานศึกษาจากเอกสารและสื่อวีดีทัศน์
จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพู
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่พ.ศ. 2537-2562 พบจำนวนทั้งสิ้น 16 ชิ้น ประกอบด้วย
บทความวารสาร 8 เรื่อง ประเภทศาสนาและความเชื่อ 1 เรื่อง ประเภทการท่องเที่ยว 3
เรื่อง ประเภทประวัติศาสตร์ 3 เรื่อง และประเภทศิลปกรรม 1 เรื่อง วิทยานิพนธ์ 2
เรื่อง ประเภทความเชื่อ 2 เรื่อง และประเภทสื่อวีดีทัศน์ 6 เรื่อง ดังนี้
2.1
งานประเภทศาสนาและความเชื่อ
จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดภูในประเภทความเชื่อ
สามารถนำงานศึกษามาสรุปและเรียงตามปีที่พิมพ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2537-2557
โดยเป็นบทความจากวารสารและวิทยานิพนธ์ ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
สมชาติ
มณีโชติ
|
ฆ่าควายสังเวยผี
พิธีของชาวข่าที่แขวงสาละวันและปราสาทหินวัดภูแขวงจำปาศักดิ์
|
2537
|
บทความวารสาร
|
2
|
อรวรรณ เพชรนาค
|
คติความเชื่อและรูปแบบของภาพสลัก
ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
|
2555
|
วิทยานิพนธ์
|
3
|
ทัศน์ไท
พลมณี
|
ความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนต่อปราสาทวัดพู
แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
|
2557
|
วิทยานิพนธ์
|
สมชาติ มณีโชติ (2537) บทความเรื่อง ฆ่าความสังเวยผี
พิธีของชาวข่าที่แขวงสาละวันและปราสาทหินวัดภูแขวงจำปาศักดิ์
จากบทความวารสารเรื่อง ฆ่าความสังเวยผี
พิธีของชาวข่าที่แขวงสาละวันและปราสาทหินวัดภูแขวงจำปาศักดิ์ พบว่าเป็นการศึกษาภาคสนาม
คือมีการเดินทางไปสำรวจบริเวณที่ศึกษาด้วยตัวเอง และได้ศึกษาประเด็นความเชื่อเป็นหลัก
พิธีฆ่าควายสังเวยผีของชุมชนชาวข่าแถบแขวงสาละวันและจำปาศักดิ์
ได้พบหลักฐานว่าเป็นบริเวณที่ตั้งปราสาทหินวัดภู ซึ่งเป็นศาสนาสถานรุ่นแรกๆ
ในสายวัฒนธรรมเขมรที่มีอายุการสร้างมาตั้งแต่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12
ต่อเนื่องมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น
ยังเป็นโบราณสถานที่ได้รับการนับถือจากชาวบ้านในท้องถิ่นว่าเป็นเขตศักดิ์สิทธ์
และยังได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมการฆ่าความเพื่อสังเวยผีสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกทีจนถึงปัจจุบัน
จากการได้สนทนากับชาวบ้านที่มีถิ่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับปราสาทวัดภู
เมืองจำปาศักดิ์เก่า แขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของลาว
ทำให้ทราบได้ว่าที่บริเวณปราสาทหินวัดภูที่เคยเป็นเทวสถานเก่าแก่นั้น
ในปัจจุบันได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีฆ่าความสังเวยผีของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับปราสาทหินวัดภู
โดยจะมีการประกอบพิธีในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม)
ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในแถบวัดภูในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นชาวลาวลุ่มซึ่งนับถือศาสนาพุทธ
แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มชนเหล่านี้มีการนับถือผีควบคู่ไปกับการนับถือพุทธศาสนาด้วย
และแม้จุดประสงค์ดั่งเดิมของการสร้างปราสาทหินวัดภูนี้
เพื่อให้เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูมาก่อน แต่ในปัจจุบันเทวสถานแห่งนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพุทธสถานโดยกลุ่มชาวบ้านที่เข้ามาอยู่อาศัยในสมัยหลังๆ
โดยชาวบ้านได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานไว้ในปราสาทประธานของปราสาทหินวัดภู
อีกทั้งยังได้สร้างสำนักสงฆ์อยู่ภายในบริเวณใกล้เคียงกันนั้นด้วย
ในขณะเดียวกันชาวบ้านยังเชื่ออีกว่าปราสาทหินวัดภูเป็นที่สิงสถิตรวมดวงวิญญาณเทพยดาอารักษ์ผีป่า
ผีเขา และผีบรรพบุรุษของพวกเขา มาแต่บรรพกาล
จากแนวคิดและความเชื่อดังกล่าวทำให้สถานภาพของประสาทหินวัดภูเปรียบได้กับหลักบ้านใจเมืองของผู้คนในท้องถิ่น
อรวรรณ เพชรนาค(2555) วิทยานิพนธ์เรื่อง
คติความเชื่อและรูปแบบของภาพสลัก ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา คติความเชื่อและรูปแบบของภาพสลัก
ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง ทางด้านเอกสาร
และข้อมูลภาคสนามโดยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ข้อมูลจากนักวิชาการและ ผู้ทรงคุณวุฒิ
รวมถึงภาพถ่ายที่เกี่ยวกับภาพสลักที่ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว วิเคราะห์
โดยใช้แนวคิดหลักทางด้านประติมาวิทยา นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
วิเคราะห์ประกอบภาพถ่าย
ปราสาทวัดพูเป็นที่ตั้งของศาสนสถานของในอารยะธรรมโบราณถึง
สามยุค คือ 1) ยุคของอาณาจักรเจนละซึ่งนับถือเทพเจ้าและพิธีการบูชายัญ 2)
ยุคอาณาจักรขอมที่มี การสร้างปราสาทเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ และ 3)
ในยุคของอาณาจักรล้านช้างที่ได้มี การปรับเปลี่ยนปราสาทขอมให้กลายเป็นพุทธสถานของนิกายเถรวาทจนถึงปัจจุบัน
อาคารต่างๆ
ของปราสาทวัดพูได้สร้างขึ้นในยุคสมัยของอาณาจักรขอมภายใต้ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
และ มีการก่อสร้างและต่อเติมอาคารในหลายยุคหลายสมัย
ด้านคติความเชื่อของภาพสลักที่ปราสาทวัดพู นั้น แบ่งตามคติของการสร้างภาพสลัก
คือภาพสลักเล่าเรื่องในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นตามคติ ความเชื่อของลัทธิไศวะนิกาย
กับลัทธิไวษณพนิกาย ซึ่งปรากฏในรูปแบบของภาพสลักเล่าเรื่องทาง ประติมานวิทยา
มีเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระนางอุมา
พระอินทร์ และฤๅษี เรื่องราวที่เกี่ยวกับสัตว์ เช่น ช้างเอราวัณ นาค ครุฑ หน้ากาล
สิงห์ รวมถึง ลวดลายพันธุ์พฤกษาประดับตกแต่งต่างๆ
รูปแบบของภาพสลักที่ปรากฏส่วนใหญ่เป็นศิลปะแบบบาปวนตอนต้นที่ยังคงรักษารูปแบบ
บางประการของศิลปะแบบเกลียงไว้แสดงถึงการก่อสร้างภายใต้ช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน
รูปแบบ ภาพสลักเล่าเรื่องที่ปราสาทวัดพูนั้นแบ่งออกเป็นสองลักษณะ
ได้แก่ภาพสลักเล่าเรื่องอย่างแท้จริง โดยไม่มีส่วนประกอบอื่นมาปะปน
และภาพสลักเล่าเรื่องท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษาที่มีการเล่า
เรื่องอยู่ในบริเวณจุดกึ่งกลางของภาพ โดยภาพสลักนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการแสดงความหมายในเชิง
สัญลักษณ์
ให้ปราสาทหินแปรเปลี่ยนเป็นดั่งสรวงสวรรค์ที่ประทับของเทพเจ้าอย่างสมบรูณ์
ทัศน์ไท พลมณี (2560) วิทยานิพนธ์เรื่อง
ความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนต่อ ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1.
ศึกษาประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบันปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว 2.
ศึกษาความเชื่อต่อปราสาทวัดพูในอดีต แขวงจำปาสัก สปป.ลาว 3.
ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมชุมชนต่อปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
โดยศึกษาโดยวิธีวิทยาดังนี้ คือ การศึกษาจากข้อมูลทั้งเอกสสารและการลงพื้นที่สังเกต
สัมภาษณ์ และสนทนากับประชากรในชุมชน ได้แก่ผู้รู้ ผู้นำชุมชน ผู้ปฏิบัติ
และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอื่นๆในชุมชน
ปราสาทหินวัดพู
ได้สร้างขึ้นและผ่านการเวลาหลายยุคสมัย ปรากฏเด่นชัดสามยุค
เริ่มต้นในยุคของอาณาจักรเจนละ กระทั่งต่อมาในยุคอาณาจักรขอมที่มีบทบาทเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์และช่วงท้ายยุคอาณาจักรล้านช้างที่ได้ปรับเปลี่ยนปราสาทขอมให้เป็นพุทธสถานของนิกายเถรวาทแต่ละช่วงเวลานั้นปรากฏร่องรอยความเชื่อแบ่งตามคติของแต่ละศาสนาที่เข้ามามีอิทธิพลต่อตัวปราสาท
ซึ่งความเชื่อต่อปราสาทวัดพูในอดีตนั้นเริ่มจากความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรฟูนัน
ในยุคสมัยครั้งที่อาณาจักรเจนละยังตกอยู่ภายใต้การปกครองมาถึงช่วงกลางที่ปรากฏความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไศวะนิกายที่พบหลักฐานเป็นภาพสลักตรีมูรติและศิวะลึงค์ที่อยู่ในบริเวณตัวปราสาท
จนถึงช่วงปลายหลังจากขอมเสื่อมอำนาจลงการเข้ามาของพุทธศาสนาจากอาณาล้างช้างเข้ามาทำให้ปราสาทวัดพูเปลี่ยนบทบาทจากเทวะสถานกลายเป็นพุทธสถานได้นำเอาพระพุทธรูปประดิษฐานแทนที่ศิวะลึงค์ในลัทธิไศวะกายบริเวณปรางค์ประธานให้ประชาชนและชุมชนในพื้นที่รอบปราสาทได้กราบไหว้และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในทางพุทธศาสนาโดยมีสถานที่เป็นตัวปราสาทวัดพูที่สร้างขึ้นในลัทธิความเชื่อศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไศวะนิกายที่นับถือพระศิวะมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ความเชื่อและพิธีกรรมที่ปรากฏให้เห็นนั้นจำแนกได้
2 ลักษณะ คือ 1) ความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันทั้งประเทศในทางพุทธศาสนา
ที่เป็นศาสนาหลักประจำชาติลาว
จากพิธีกรรมสำคัญที่มีผู้เข้าร่วมพิธีกรรมจากทั้งละแวกชุมชนโดยรอบปราสาทอีกทั้งประชาทั้งในและต่างประเทศในงานประเพณีบุญนมัสการวัดพูมีการทำบุญตักบาตรตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
2)ความเชื่อท้องถิ่น
ที่มีการเซ่นสังเวยสัตว์เพื่อเสี่ยงทายบูชาผีบรรพบุรุษผีเจ้านายและเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประกอบอาชีพในทางเกษตรกรรม
ในพิธีกรรมเลี้ยงศาลปู่ตาของชุมชนโดยรอบปราสาท
และยังปรากฏความเชื่อที่ถือปฏิบัติส่วนบุคคลซึ่งส่งผลต่อจิตใจ ในด้านการวิงวอนต่ออำนาจเร้นลับพลังเหนือธรรมชาติในสถานที่ที่ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะคำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่นแทรกตัวอยู่ในความเชื่อหลักทั้ง2ความเชื่อที่กล่าวข้างต้นอีกด้วย
ลักษณะความเชื่อและพิธีกรรมที่ปรากฏต่างๆนั้นล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลจากแต่ละความเชื่อของแต่ละศาสนาที่เข้ามาผลัดเปลี่ยนทับซ้อนกันในช่วงเวลาต่างๆส่งผลต่อพื้นที่โดยมีปราสาทวัดพูเป็นจุดเชื่อมโยงให้เห็นการผสมผสาน
ความเชื่อก่อให้เกิดเป็นพิธีกรรมของชุมชนต่อปราสาทวัดพูที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตและยังปรากฏให้เห็นสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สรุปด้านศาสนาและความเชื่อ
จากการศึกษาด้านศาสนาและความเชื่อของปราสาทวัดพู
พบว่าประสาทวัดพูถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ในลัทธิไศวะนิกาย
โดยมีการพบหลักฐานมาจากตัวปราสาท ปรากฏในรูปแบบของภาพสลักเล่าเรื่องราว ต่อมาภายหลังหลังจากขอมเสื่อมอำนาจลงการเข้ามาของพุทธศาสนาจากอาณาล้านช้างทำให้ปราสาทวัดพูเปลี่ยนบทบาทจากเทวะสถานกลายเป็นพุทธสถานและได้มีการนำเอาพระพุทธรูปประดิษฐานแทนที่ศิวะลึงค์
และยังมีการประกอบพิธีตามความเชื่อในทางพุทธศาสนา อย่างประเพณีบุญนมัสการวัดพู และความเชื่อท้องถิ่นเรื่องการสังเวยชีวิตสัตว์เพื่อบูชาบรรพบุรุษอีกด้วย
ซึ่งจากบทความของสมชาติ มณีโชติ เรื่อง ฆ่าควายสังเวยผี
พิธีของชาวข่าที่แขวงสาละวันและปราสาทหินวัดภูแขวงจำปาศักดิ์ เป็นการศึกษาจากการเดินทางไปที่ปราสาทวัดพู
และได้พบวิถีชีวิตที่สอดแทรกไปด้วยความเชื่อของคนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บริเวณปราสาทวัดพูอีกด้วย
2.2
งานประเภทการท่องเที่ยว
จากการการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพูด้านการท่องเที่ยว
สามารถนำงานศึกษามาสรุปและเรียงตามปีที่พิมพ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2542-2554
โดยเป็นบทความจากวารสาร ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
อุดม
บัวศรี
|
วัดพู :
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวใต้ แห่งนครจำปาสัก
|
2542
|
บทความวารสาร
|
2
|
วิวัฒน์
พันธวุฒิยานนท์
|
ท่องเที่ยวเกี่ยวบุญปราสาทหินวัดภู
|
2544
|
บทความวารสาร
|
3
|
สตีเฟ่น ชิพานิ
|
Perceptions of the
Impacts of Tourism among Rural Communities in Luang Namtha, Luang Prabang,
Khammouane and Champasak, Lao PDR (การรับรู้ถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนชนบทใน
แขวงหลวงน้ำ าทา แขวงหลวงพระบาง แขวงคำม่วน และ แขวงจำปาศักดิ์ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
|
2554
|
บทความวารสาร
|
อุดม บัวศรี (2542) บทความเรื่อง วัดพู :
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวใต้ แห่งนครจำปาสัก
วัดพูเป็นศูนย์กลางการปกครองอยู่ในยุคศตวรรษที่
4
เพราะเมืองต่างๆที่สำคัญล้วนอยู่ใกล้วัดพู เช่น เมืองสะมะพูปุระ
เมืองอีสานปุระ เมืองชัยถิตถปุระ และเมืองเชษฐาปุระ
ทั้งนี้ยังมีการกล่าวในเอกสารท่องเที่ยว
“ชาวจำปาสักยินดีต้อนรับสู่ปีท่องเที่ยวลาว 1999-2000” ว่า
“วัดพูปูชนียสถานสำคัญอันลือชื่อ
เป็นหนึ่งในสถานโบราณที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของลาว ตั้งอยู่ตีนภู
ศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า “ลิงคปารวต”(ภูเก่า) จากหลักฐานต่างๆแสดงว่า
เป็นโบราณสถานของศาสนาที่นับถือพระเจ้าคือ พระศิวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในตีมูรติคือ
พระพรหม พระศิวะและพระวิษณุ ในค.ศ. ที่ 13
ศาสนสถานแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นวัดของพุทธศาสนาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ซึ่งชาวลาวถือว่าเป็นสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันสำคัญยิ่งของชาติ
ดังนั้นเมืองถึงเดือน 3 เพ็ญของแต่ละปี จึงได้ร่วมใจกันทำบุญที่วัดแห่งนี้
เพื่อให้โอกาสแห่คนทั้งหลายได้ร่วมบูชาสิ่งที่เคารพร่วมกัน”
ชาวลาวจึงถือเอาวันนมัสการวัดพูเป็นวันสำคัญยิ่ง
เพราะเป็นวันที่ประชาชนมีนัดหมายกันไว้แล้วเพื่อทำบุญ จึงเสียค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์น้อย
เป็นการยิงนัดเดียวได้นกสองตัว
คือได้นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยและได้ชมปีการท่องเที่ยวด้วย ฉะนั้นขบวนแห่ต่างๆ
ในวันนี้จึงจัดเป็นพิเศษ
โดยให้แต่ละเมืองหาเอกลักษณ์ของตัวเองแสดงในขบวนและจะบอกถึงแหล่งท่องเที่ยว
วิวัฒน์
พันธวุฒติยานนท์ (2544) บทความเรื่อง
ท่องเที่ยวเกี่ยวบุญ ปราสาทหินวัดภู
ปราสาทวัดภูฉายภาพอารยธรรมเรืองรองที่ริมน้ำโขง
ทำหน้าที่สัญลักษณ์สำคัญของลาวตอนใต้
นับแต่อดีตครั้งยังปราศจากเส้นพรมแดนแผนที่ก่อนก่อเกิดรัฐชาติลาจนกระทั่งปัจจุบัน
“ภูเก้า” ที่ตั้งปราสาทวัดภูเคยมีสถานะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชนพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรเจ้าถิ่นที่อยู่แถบนี้มาแต่ดั้งเดิม
ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 11 หรือเวลา 400 ปีก่อนยุค “นครวัด” ในกัมพูชา
อาณาจักรเจนละ รุ่งเรือง วักภูก็ถูกสถาปนาขึ้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่นครเศรษฐปุระ
โดยจารึกโบราณกล่าวว่าเพื่อถวายแด่เทพภัทเรศวร เทพเจ้าของชาวจามปา
ยุคต่อมาจึงเสริมแต่งจนมีโครงสร้างใหญ่โตขึงขังอลังการแบบปราสาทขอมในภายหลัง
เพื่อเป็นที่สถิตของพระศิวะและประกอบพิธีกรรมตามลัทธิฮินดู-พราหมณ์ที่มีอิทธิพลสมัยนั้น
ด้วยภูมิทัศน์อันงดงาม สัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และประการสำคัญ
ยอดเขาลูกนี้มีลักษณะเป็นแท่งกลมขนาดใหญ่คล้ายศิวลึงค์
จึงเรียกขานนามตามความเชื่อลัทธิบูชาพระศิวะ “ไศวะนิกาย” ว่า สวมันภูวะ
หรือมั่นคงถาวร ส่วนตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำใหญ่และแหล่งน้ำอื่นๆ
ก็เป็นเหตุผลสนับสนุนกัน
ศาสนาสถานวัดภูเป็นสถานที่สักการบูชาต่อมาจนถึงช่วงที่เขมรมีอำนาจต่อเนื่องถึงพุทธศตวรรษที่
18
สตีเฟ่น ชิพานิ (2554)
บทความเรื่อง Perceptions of the Impacts of Tourism among Rural Communities in
Luang Namtha, Luang Prabang, Khammouane and Champasak, Lao PDR (การรับรู้ถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนชนบทใน
แขวงหลวงน้าทา แขวงหลวงพระบาง แขวงคำม่วน และ แขวงจำปาศักดิ์
ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
จำนวนนักท่องเที่ยวนานาชาติที่มาเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ใน พ.ศ. 2551 มีจำนวนถึง 1.73 ล้านคน ซึ่งสร้างรายได้ราว 275
ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาตามอัตราแลกเปลี่ยน และได้สร้างงานให้ท้องถิ่นถึง 17,000 งาน ดังนั้นจึงมีการส่งเสริม
การท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นกลไกหลักของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ กิจกรรม
การท่องเที่ยวหลักส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นการท่องเที่ยวสถานที่
ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในเมืองหลวงเวียงจันทน์
และแหล่งมรดกโลกที่ได้ รับการคัดเลือกโดยองค์กรยูเนสโกคือเมืองหลวงพระบาง
และปราสาทหินวัดพู และสิ่งก่อสร้าง ใกล้เคียงในแขวงจำปาสัก แต่การจัด “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ไปตามหมู่บ้านชุมชนชาติ
พันธุ์ต่างๆ ก็เป็นที่นิยมมากเช่นกัน
โปรแกรมการท่องเที่ยวในแบบหลังนี้เริ่มขึ้นในช่วง พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ. 2550
ในลักษณะโครงการสาธิตที่ได้รับการพิจารณาจัดขึ้นโดยรัฐบาลด้วยความร่วมมือ
จากผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและองค์กรความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ คือ
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และ
ธนาคารเพื่อการ พัฒนาเอเชีย (เอดีบี) การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีการวางแผน
และจัดการโดยคนในท้องถิ่นเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เพื่อช่วยกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ชนบทต่างๆ
การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความพึงพอใจของครัวเรือนในชนบทต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนและประเมินการรับรู้ของพวกเขาต่อผลกระทบจากการท่องเที่ยว
ได้ดำเนินการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยการใช้การสำรวจจากตัวอย่างข้อมูล 391
ครอบครัวที่อาศัยอยู่ใน 12 หมู่บ้าน
ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวลุ่มนํ้าโขง
บทความนี้เสนอผลการสำรวจและศึกษาปัจจัย ที่อาจมีส่วนทำให้มีความแตกต่างอย่างสำคัญ
ในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว ขมุ ม้ง และ ลาวเทิง
ต่อการรับรู้ถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนของพวกเขา
สรุปด้านการท่องเที่ยว
จากการศึกษางานประเภทการท่องเที่ยวปราสาทวัดพู
ทำให้เห็นว่าปราสาทวัดพูนั้นถือเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศลาว
และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของผู้คนทั่วโลก
ซึ่งปราสาทวัดพูมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
และถึงแม้จุดประสงค์การสร้างเพื่อเป็นเทวสถาน ตามแบบความเชื่อของพราหมณ์ ไศวะนิกาย
แต่การถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีตามความเชื่อของศาสนาพุทธนั้นทำให้ได้รับความสนใจจากผู้คนในท้องถิ่นและเพื่อเดินทางไปชมหรือเข้าร่วมงานประจำปีที่จัดขึ้นบริเวณปราสาทวัดพู
อย่างวัดนมัสการวัดพู ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่งของชาวลาว
ที่จะมีการเดินทางไปปราสาทวัดพู และทำให้มีการท่องเที่ยวทั้งบริเวณโดยรอบ
และตัวปราสาทที่เป็นจุดหมายเอง จนทำให้มีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวไปยังชุมชนรอบๆอีกด้วย
2.3
ด้านประวัติศาสตร์
จากการทบทวนวรรณกรรมเที่ยวกับปราสาทวัดพูในประเภทประวัติศาสตร์
สามารถนำงานศึกษามาสรุปและเรียงตามปีที่พิมพ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2538-2549
โดยเป็นบทความจากวารสาร ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
เมธินี
จิระวัฒนา
|
ปราสาทวัดภู
|
2538
|
บทความ วารสาร
|
3
|
เกรียงไกร เกิดศิริ
|
วัดพู :
มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจำปาสัก
|
2548
|
บทความ วารสาร
|
2
|
มะโนลิด
พิลาวง
สาริสา
อุ่นทานนท์, ผู้แปล
|
เกล็ดเรื่องเมืองลาว
: ตอนปราสาทวัดพู
|
2549
|
บทความ วารสาร
|
เมธินี
จิระวัฒนา (2538) บทความเรื่อง
ปราสาทวัดภู
ปราสาทวัดภู
เป็นโบราณสถานที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยที่เศรษฐปุระ
(เมืองหลวงของเจนละ) มีบทบาทครอบคลุมในเขตตอนใต้ของดินแดนอินโดจีน ผู้สร้างอาจเป็นกษัตริย์ของเจนละองค์ใดองค์หนึ่งที่ครองราชย์ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่
11 โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างศาสนาสถานแห่งนี้เพื่อถวายแด่เทพภัทเรศวร
(เทพเจ้าของชาวจัมปา) และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการได้รับชัยชนะต่อจัมปา
ที่เคยครอบครองดินแดนจำปามาก่อนโบราณสถานดังกล่าวนี้ได้ใช้เป็นสถานที่สักการะบูชาต่อมาจนถึงช่วงที่เขมรมีอำนาจต่อเนื่องถึงพุทธศตวรรษที่
18
ในการสร้างศาสนสถานแห่งนี้
นับเป็นความสามารถของสถาปนิกสมัยโบราณในการเลือกที่ตั้งในภูมิประเทศซึ่งงดงามเหมาะสม
บนเนินเขาภูเก้า (หรือภูเกล้า) ขนาดสูง 1200 เมตร ประกอบด้วยทางเดินลดหลั่นระดับต่างๆ
จากเนินเขาด้านตะวันออกไปยังตะวันตกถึงตัวศาสนสถานซึ่งมีลักษณะจำลองยอดเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระอิศวร
ด้วยความสำคัญในการหลักฐานความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของวัดภูรัฐบาลจึงประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทวัดภู
เป็นเขตอนุรักษ์โบราณสถานของชาติพร้อมทั้งประกาศให้พื้นที่ป่าอันเป็นที่ตั้งของวัดภู
คือ เขตพื้นที่ศาสนสถานวัดภู เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ด้วยการตั้งสำนักงานประจำศาสนาสถานวัดภูทำหน้าที่ดูแลศาสนา-สถานและนำชมโบราสถาน
เกรียงไกร
เกิดศิริ (2548) บทความเรื่อง วัดพู :
มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจำปาสัก
“วัดพู”
เป็นศาสนสถานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมบนที่ราบลุ่มริมน้ําโขงในเขตจําปาสัก
และถือเป็นรากฐานสําคัญที่แสดงให้เห็นการก่อร่างสร้างตัวมีพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรม
และรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากสังคมบุพกาลที่ดําเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายสู่สังคมแห่งอารยธรรมที่มีโครงสร้าง
สลับซับซ้อนในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5-18
นักวางผังในสมัยโบราณได้ปรับใช้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่
ให้ตอบสนองต่อแนวความคิดทางศาสนา และความเชื่อในลัทธิไศวนิกายในศาสนาฮินดู
นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยของแหล่งโบราณคดีจํานวนมากกระจายตัวอยู่ในพื้นที่มานับพันปี
แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของโครงสร้างสังคม, วัฒนธรรม,
วิถีชีวิต, เศรษฐกิจ
การปกครองและการศาสนาของบรรพบุรุษ และต้นธารวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออดเฉียงใต้ การนี้ศูนย์มรดกโลกองค์การยูเนสโกจึงได้ประกาศรับรองว่าพื้นที่มรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมจำปาสักเป็นมรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม
(World Heritage Cultural Landscape) เมื่อปี พ.ศ. 2544
คุณค่าดังที่กล่าวมาข้างต้นทําให้เกิดแนวความคิดในการจัดการและการอนุรักษ์มรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่
โดยหัวใจหลักของการจัดการต้องคํานึงถึงความยั่งยืนของภูมิทัศน์
และการดําเนินต่อไปของประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันของชุมชนเจ้าของพื้นที่อย่างมีอิสระในการดําเนินชีวิต
มีการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณค่า และความมั่นคงแห่งชีวิต ด้วยการอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของตนอย่างยังยืน
การจัดการและการพัฒนาที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของชุมชนมิอาจเป็นการพัฒนาที่ยังยืนได้
รวมไปถึงการท่องเที่ยวที่ปราศจากการจัดการที่ดีและละเอียดลึกซึ้งเพียงพอจะกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมรวมไปถึงการสร้างความอ่อนแอให้กับชุมชนในระยะยาวด้วย
มะโนลิด
พิลาวง (2549) บทความเรื่อง เกร็ดเรื่องเมืองลาว ตอน :
ปราสาทวัดพู
อ้างตามเอกสารของชาวจีน
ที่ได้บันทึกไว้ว่าในศตวรรษที่ 6 โบราณสถานวัดพูจำปาสัก
ได้ถูกก่อสร้างขึ้นใกล้กับนครหลวงเศรษฐาปูระ และมีภูเขาลูกหนึ่งมีชื่อว่า ลิงเกย
โปโพ (ซึ่งเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า ลึงคะปราวะตา) หรือ ภูลึงคะ
และบนยอดภูเขาแห่งนี้มีวัดแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีทหารนับพันนายทำหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์รอบวัด โดยวัดแห่งนี้สร้างไว้ให้ผี
ที่มีชื่อว่าพอตอลี ซึ่งต้องนำคนมาสังเวยเพื่อเป็นการบูชา ในทุกๆปี ในเวลากลางคืน
องค์พระมหากษัตริย์จะเสด็จเข้าไปในวัด เพื่อทำพิธีบูชายัญ
ด้วยการฆ่าคนเป็นการสังเวย ชื่อ ผีพอตอลี จากเอกสารจีน
และจากการเล่าขานทำให้ชื่อกันว่าผีพอตอลี อาจจะเป็น พระศิวะ ปางที่เป็นคน
ตามประวัติศาสตร์การบูชาของพวกจามที่ตั้งอยู่ในเมืองเก่า
โครงสร้างของวัดพูนั้น
ได้มีการก่อสร้างสถานที่สำหรับประกอบพิธีต่างๆ เช่น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หอบูชา
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก บันได และหินนำทางส่องแสงที่มีรูปร่างลักษณะตามแบบศตวรรษที่ 11 ซึ่งบ่งบอกถึงความเก่าแก่ ในขณะที่มีการก่อสร้างเพื่อทะนุบำรุงวัดพูขึ้นมาใหม่นั้น
ได้มีการค้นพบสถานที่สำหรับเป็นหอบูชาก่อนสมัยก่อสร้างวัดอังกอร์สิมขนาดเล็ดซึ่งเป็นศิลปะในศตวรรษที่
11 ได้ถูกสร้างขึ้นอยู่ตีนผา
ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการสักการบูชา โดยมีลึงค์ประดิษฐานอยู่
และมีการก่อสร้างทางน้ำอย่างเป็นระบบ จากบ่อน้ำด้านล่างไหลลงไปรดลึงค์ตลอดปี
ส่วนด้านหลังของสิมที่อยู่ใต้ตีนผานั้น ปรากฏรูปขวดตั้งอยู่บนหิน
สำหรับทำพิธีสักการบูชาของพวกพราหมณ์ (พระศิวะ และพระวิษณุ) และของพวกที่นับถือ
ส่วนพระพุทธรูปนั้น ได้ถูกนำเข้ามาประดิษฐานในระยะหลังเมื่อไม่นานมานี้
สรุปด้านประวัติศาสตร์
จากการศึกษางานด้านประวัติศาสตร์ ปราสาทวัดพู
พบว่าสร้างขึ้นในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ในสมัยที่เศรษฐปุระ
(เมืองหลวงของเจนละ) มีบทบาทครอบคลุมในเขตตอนใต้ของดินแดนอินโดจีน
ผู้สร้างอาจเป็นกษัตริย์ของเจนละองค์ใดองค์หนึ่ง
โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างศาสนาสถานแห่งนี้เพื่อถวายแด่เทพภัทเรศวร
(เทพเจ้าของชาวจัมปา) และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการได้รับชัยชนะต่อจัมปา
ที่เคยครอบครองดินแดนจำปามาก่อนทั้งยังเป็นศาสนสถานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมบนที่ราบลุ่มริมน้ําโขงในเขตจําปาสัก
และถือเป็นรากฐานสําคัญที่แสดงให้เห็นการก่อร่างสร้างตัวมีพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรม
และรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากสังคมบุพกาลที่ดําเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายสู่สังคมแห่งอารยธรรมที่มีโครงสร้าง
สลับซับซ้อนในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5-18
2.4
งานประเภทศิลปกรรม
วรรณพรรธน์ เฟรนซ์ (2562) บทความเรื่อง
ภาพสลักชิ้นเด่นจากปราสาทวัดพู:
การศึกษาเรื่องประติมานวิทยาของภาพสลักประดับศาสนสถานที่ปราสาทวัดพู, สปป.ลาว (The iconographic study of
architectural structure at Prasat Wat Phu temple, Laos PDR.)
การศึกษาเรื่องประติมานวิทยาของภาพสลักประดับศาสนสถานที่ปราสาทวัดพู
มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับ ตำนานเทวนิยาย และ
ประติมานวิทยาของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ซึ่งปรากฏบนเครื่องประดับศาสนสถานที่ปราสาทวัดพู
กำหนดอายุทางศิลปกรรมอยู่ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยใช้การเก็บข้อมูลภาคสนาม การศึกษาเปรียบเทียบทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ประติมานวิทยา
แสดงให้เห็นถึง
การเจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องของการนับถือศาสนาพราหมณ์ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ซึ่งเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และ วัฒนธรรม
อันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
แขวงจำปาสัก ในประเทศลาว และ ตอนเหนือของประเทศกัมพูชา ด้วยเหตุนี้ ปราสาทวัดพู
จึงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง
นอกจากคุณค่าความงามทางด้านสถาปัตยกรรม และ ศิลปกรรมแล้ว
ภาพสลักเรื่องราวทางศาสนาพราหมณ์ และ ประติมากรรม ยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึง
คติความเชื่อทางศาสนาที่ได้รับการนับถือแพร่หลาย และ
เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในภูมิภาคแห่งนี้อีกด้วย
สรุปด้านศิลปกรรม
จากการศึกษาจากงานศิลปกรรมของปราสาทวัดพูทำให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงกับด้านความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ตามวัตถุประสงค์ในการสร้างคือเพื่อเป็นเทวสถาน
ฉะนั้นจากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นเป็นภาพสลักเรื่องราวทางศาสนาพราหมณ์
สะท้อนให้เห็นถึงการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของการนับถือศาสนาพราหมณ์ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
2.5
งานประเภทสื่อวีดีทัศน์
จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพูในประเภทสื่อ
สามารถนำงานศึกษามาสรุปและเรียงตามปีที่พิมพ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2553-2559 โดยเป็นสื่อวีดีทัศน์
ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อรายการ
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่เผยแพร่
|
ประเภท
|
1
|
UNESCO
|
Vat Phou and
Associated Ancient Settlements within the Champasak Cultural Landscape
|
2553
|
สื่อวีดีทัศน์
|
2
|
voice online
|
คอนพะเพ็ง:
ไนแองการาแห่งเอเชีย
|
2557
|
สื่อวีดีทัศน์
|
3
|
PPTV HD 36
|
มหัศจรรย์อาเซียน
ปราสาทหินวัดพู มหัศจรรย์อารยธรรมขอม
|
2558
|
สื่อวีดีทัศน์
|
4
|
Thai PBS
|
ใกล้ตาอาเซียน :
มรดกโลกวัดพู
|
2558
|
สื่อวีดีทัศน์
|
5
|
ข่าว NBT อีสานใต้
ชื่อรายการ
|
สกู๊ป ปราสาทวัดพู
15 ปี มรดกโลก 15 ศตวรรษมรดกอาเซียน 1
|
2559
|
สื่อวีดีทัศน์
|
6
|
สวัสดีอาเซียน
Sawasdeeasean
|
ปราสาทวัดพู
มรดกโลกแห่งสปป.ลาว
|
2559
|
สื่อวีดีทัศน์
|
รายการ UNESCO (2553) เรื่อง Vat
Phou and Associated Ancient Settlements within the Champasak Cultural Landscape
ปราสาทวัดภูเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของจำปาสักที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างน่าทึ่ง
โดยมีอายุมากกว่า 1,000 ปี ถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงความเชื่อของชาวฮินดูเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและมนุษยชาติโดยใช้แกนจากยอดเขาไปจนถึงฝั่งแม่น้ำเพื่อวางรูปแบบของวัดและการประปาที่ทอดยาวกว่า
10 กม.
เมืองที่วางแผนไว้สองแห่งบนฝั่งแม่น้ำโขงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของที่ตั้งเช่นเดียวกับภูเขาภูเก้า
ทั้งหมดแสดงถึงการพัฒนาตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ถึง 15
ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรเขมร
รายกาย PPTV HD36(2557) เรื่อง มหัศจรรย์อาเซียน ปราสาทหินวัดพู มหัศจรรย์อารยธรรมขอม
ปราสาทวัดพู เป็นจุดเริ่มต้นทางวัฒนธรรมขอม
โดยมีความเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งสร้างขึ้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยเจนละ จนกระทั่งพระนคร
ทั้งนี้ปราสาทวัดพูยังถูกนำขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยประเทศลาวอีกด้วย
ซึ่งในส่วนของปรางค์ประธานปราสาทนั้นสร้างจากอิฐ
จึงมีการสันนิษฐานว่าสร้างก่อนสมัยพระนคร ส่วนในโครงสร้างอื่นๆจะเป็นหิน
และศิลาแลง
ปัจจุบันนี้มีการเข้ามากราบไหว้ของทั้งชาวลาวเองและนักท่องเที่ยวจากต่างชาติด้วย
ซึ่งมีการกราบไหว้ขอพร ตามความเชื่อส่วนบุคคลที่ปฏิบัติกัน
รายการ สวัสดีอาเซียน Sawasdeeasean (2558) เรื่อง ปราสาทวัดพู มรดกโลกแห่งสปป.ลาว
ปราสาทวัดพู ตั้งอยู่ในแขวงจำปาศักดิ์
ทางตอนใต้ของประเทศลาว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2544
ความสำคัญของปราสาทวัดพูที่ทำให้ได้ขึ้นเป็นมรดกโลกนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้ง มีภูเขาลูกใหญ่ โดยคนจะบูชา
เพราะเชื่อว่าเป็นที่ประทับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือในที่นี้เชื่อว่าพระศิวะ
ประทับอยู่ จึงมีการส้รางขึ้นเพื่อถวายพระศิวะด้วย มีแม่น้ำโขงอยู่ทางด้านหน้า
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกนี้ ไม่ได้นำขึ้นเฉพาะปราสาทวัดพู
แต่บริเวณโดยรอบทั้งหมดก็นำขึ้นด้วย
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างความเชื่อวัฒนธรรมโบราณและธรรมชาติ
ในส่วนของสถาปัตยกรรม มีการสร้างแบบเขมรโบราณ สำหรับปราสาทประธาน
ภายในเคยมีศิวลึงค์
แต่ปัจจุบันจากการเข้ามาของล้านช้างทำให้ความเชื่อแบบไศวะนิกายหายไป
แล้วแทนที่ด้วยความเชื่อแบบพุทธ นิกายเถรวาท จึงมีการประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนสามารถเดินทางเข้าไปกราบไหว้ขอพรได้
รายการ voice online (2558) เรื่อง คอนพะเพ็ง: ไนแองการาแห่งเอเชีย
ปราสาทวัดพู ถือเป็นเพชรน้ำเอกของลาวใต้
เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเก่าแก่ อย่างเจนละ ซึ่งสร้างเป็นเทวสถาน
ตามความเชื่อไศวะนิกาย ของศาสนาพราหมณ์
ซึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการสร้างแบบไศวะนิกาย คือมีบาราย
มีภาพสลักของตรีมูรติ นางอัปสร
และทับหลังก็แสดงภาพสลักของพระอินทร์มีบ่อน้ำไหลรดศิวลึงค์
ซึ่งถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
แต่ต่อมามีการเปลี่ยนมาเป็นการสักการะตามความเชื่อนิกายเถรวาท ของศาสนาพุทธ
ซึ่งภายในปรางค์ประธานมีการประดิษฐานพระพุทธรูปเอาไว้
บริเวณปราวาทวัดพูนี้มีลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษ
ทั้งมีภูเขาคล้ายศิวลึงค์หนุนหลังและเป็นป้อมปราการธรรมชาติ
มีแม่น้ำโขงอยู่ด้านหน้า ซึ่งทำให้ไม่ขาดแคลนน้ำ
ตรงกลางที่เป็นพื้นที่ราบจึงเหมาะที่จะเป็นเมืองอย่างมาก
รายการ Thai PBS (2559) เรื่อง ใกล้ตาอาเซียน : มรดกโลกวัดพู
ปราสาทวัดพูสร้างก่อนยุคพระนครนานมาก
หลักฐานเก่าแก่ที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งหลายร้อยปีก่อนสมัยพระนครในศตวรรษที่
9โดยกษัตริย์พระนครมีการเดินทางมาแสวงบุญที่ปราสาทวัดพูอยู่บ่อยครั้ง มีทางหลวงโบราณเชื่อมวัดพูกับนครวัด
เชื่อว่านี้เป็นแสดงความรุ่งเรืองของเมืองเศรษฐปุระ
ศูนย์กลางบ้านเมืองของวัฒนธรรมเขมร หรือเจนละบก
โดยปราสาทวัดพูนี้ตั้งอยู่เชิงภูเกล้า เขตแขวงจำปาศักดิ์
เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โบราณ โดยมีการสร้างอุทิศถวายเทพเจ้าจาม ต่อมากลายเป็นเทวลัยขอม
ให้เป็นที่สถิตของพระศิวะ และปัจจุบันกลายเป็นสักการะสถานของพุทธศาสนา
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเชื่อของผู้ในภูมิภาคนี้
รายการ ข่าว NBT
อีสานใต้ (2559) ชื่อรายการ เรื่อง สกู๊ป ปราสาทวัดพู 15 ปี มรดกโลก
15 ศตวรรษมรดกอาเซียน 1
ปราสาทวัดพู ปีที่ 15 ของการเป็นมรดกโลก
โบราณสถานที่เก่าแก่กว่า 15 ศตวรรษ มรดกโลกแห่งที่ 2 ของลาว พบกับปราสาทหิน
ร่องรอบวัฒนธรรมยิ่งใหญ่ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย
และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดย UNESCO เมื่อปีพ.ศ.
2544 โดยปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 8-12 สร้างถวายพระศิวะ
บนเชิงเขาตามความเชื่อฮินดู ที่ว่าพระศิวะจะประทับประจำอยู่ที่เขาพระสุเมรุ
ในส่วนล่างสุดของบริเวณปราสาทจะมีบาราย 4 สระ แต่ปัจจุบันเหลือ 2 สระ
ชั้นแรกของตัวปราสาทเป็นหินหลังใหญ่ 2 หลัง คือโรงเท้ากับโรงนาง หรือหอเปลื้อง
ชั้นบนสุดจะพบกับเทวาลัยที่หันหน้าไปทิศตะวันออก มีทางเข้าด้านหน้า 3 ประตู
และด้านข้างอีก 2 ข้างซ้ายขวา
มีการสลักลวดลายบนทับหลังที่ยังมีความชัดเจนในทุกด้าน
แม้จะสร้างขึ้นตามความเชื่อแบบไศวะนิกาย
แต่ต่อยุคหลังปราสาทขอมแห่งนี้กลายเป็นวัดตามความเชื่อนิกายเถรวาทของชาวลาว
ทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้เคารพบูชา ด้านหลังตัวปราสาทพบบ่อน้ำเที่ยง
น้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะมีน้ำตลอดทั้งปี ทั้งนี้ยังมีงานบุญประจำปีในช่วงวันมาฆบูชา
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้
และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย
สรุปด้านสื่อวีดีทัศน์
การศึกษาผ่านสื่อพบว่ามีการนำเสนอข้อมูลในเชิงเดียวกัน
คือนำเสนอประวัติศาสตร์ว่ามีความเป็นมาจากการสร้างเพื่อถวายให้แก่พระศิวะ
เป็นเทวสถานตามความเชื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวะนิกาย หลักฐานที่พบ เช่น ศิวะลึงค์
ภาพสลักตรีมูรติ เป็นต้น รูปแบบการสร้างตามแบบขอม มีบาราย มีปราสาทหิน 2
หลังก่อนขึ้นไปยังปราสาทประธาน ที่ด้านหลังมีบ่อเที่ยง หรือบ่อน้ำศักดิ์
ส่วนของภูมิศาสตร์มีภูเขาเปรียบเสมือนป้อมปราการ ด้านหน้ามีแม่น้ำโขงไหลผ่าน
ทั้งนี้ยังมีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศลาวอีกด้วย มักมีการกล่าวความสำคัญของการได้เป็นมรดกโลกของปราสาทวัดพู
แต่ในส่วนของสื่อวีดีทัศน์เรื่องVat Phou and Associated
Ancient Settlements within the Champasak Cultural Landscape ของ
UNESCO เป็นการนำเสนอวิถีชีวิตของคนที่อาศัยอยู่บริเวณปราสาทวัดพูเล็กน้อย
ซึ่งต่างจากสื่อวีดีทัศน์อื่นที่เน้นไปด้านประวัติศาสตร์ความเชื่อและการท่องเที่ยวเป็นหลัก
3.
สรุปและข้อเสนอแนะ
3.1
สรุปการการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพู
จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปราสาทวัดพู
จากเอกสาร บทความวารสาร วิทยานิพนธ์ และสื่อออนไลน์จำนวน 16 ชิ้น
ทำให้พบถึงความคล้ายกันของการนำเสนอข้อมูล
ซึ่งโดยรวมแล้วก็ทำให้ทราบถึงความสำคัญของปราสาทวัดพู
ว่าเป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถาน เพื่อถวายให้เป็นที่สถิตของพระศิวะ ตามแบบความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ไศวะนิกาย
การสร้างก็จะมีการผสมผสานตามความเชื่อแบบขอม ซึ่งในเวลาต่อมาก็มีการประดิษฐานพระพุทธรูป
สะท้อนถึงวัฒนธรรมความเชื่อที่เปลี่ยนผ่านตามยุคสมัย
ความเจริญรุ่งเรืองของแต่ละยุคสะท้อนออกมาได้อย่างชัดเจน
ซึ่งมักจะพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อแบบต่างๆ
โดยบริเวณปราสาทวัดพูไม่เพียงเป็นโบราณสถาน แต่ยังมีธรรมชาติทั้งป่าไม้ ภูเขา
และแม่น้ำ ซึ่งเหมาะแก่การไปท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและโบราณคดีอย่างมาก
ฉะนั้นในด้านการท่องเที่ยวจึงมักจะเหมาะกับผู้ที่แสวงบุญหรือสนใจในธรรมชาติและประวัติศาสตร์โบราณคดี
3.2 ข้อเสนอแนะ
1. การศึกษาเกี่ยวกับปราสาทวัดพูมีการศึกษาด้านศิลปกรรมไม่มากเท่าด้านอื่นๆ
จึงไม่สามารถนำเสนอได้ในหลากหลายมุมมอง
2. ข้อมูลในส่วนของประวัติศาสตร์ได้เพียงข้อมูลโดยตรงจากการค้นหาในชื่อปราสาทวัดพู
จึงทำให้ข้อมูลในส่วนนี้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
เอกสารอ้างอิง
PPTV HD 36.
(2558). มหัศจรรย์อาเซียน ปราสาทหินวัดพู มหัศจรรย์อารยธรรมขอม.
สืบค้นเมื่อ 15
กันยายน 2562. จาก
https://www.youtube.com/watch?v=yXFpOKITUmM.
Thai PBS.(2558). ใกล้ตาอาเซียน
: มรดกโลกวัดพู. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน
2562. จาก
https://www.youtube.com/watch?v=e1-Rz5N2OCE.
UNESCO.(2553). Vat Phou and
Associated Ancient Settlements within the Champasak Cultural
Landscape.
สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562. จากhttps://whc.unesco.org/en/list/481/video
voice online. (2557). คอนพะเพ็ง:
ไนแองการาแห่งเอเชีย. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562. จาก
https://www.voicetv.co.th/watch/133001.
เกรียงไกร
เกิดศิริ.(2548).
วัดพู : มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจำปาสัก. สืบค้นเมื่อ 16
กันยายน 2562. จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45339
ข่าว NBT
อีสานใต้. (2559). สกู๊ป ปราสาทวัดพู 15 ปี มรดกโลก 15
ศตวรรษมรดกอาเซียน 1. สืบค้นเมื่อ 15
กันยายน 2562.
จาก https://www.youtube.com/watch?v=lRZ7Yr2NSsU.
ทัศน์ไท
พลมณี.(2560).
ความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนต่อ ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก
สปป.ลาว
BELIEFS AND RITES OF COMMUNITY ON WATPHU,CHAMPASAK, LAO
PDR.
สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93281
มะโนลิด พิลาวง. เกล็ดเรื่องเมืองลาว : ตอนปราสาทวัดพู. สารมิตรภาพไทย-ลาว. สาริสา
อุ่นทานนท์, ผู้
แปล.
ปีที่ 13 ฉบับ 2 (2549): 53-55
วรรณพรรธน์
เฟรนซ์. (2562). ภาพสลักชิ้นเด่นจากปราสาทวัดพู:
การศึกษาเรื่องประติมานวิทยาของภาพ
สลักประดับศาสนสถานที่ปราสาทวัดพู, สปป.ลาว
(The iconographic study of architectural
structure at Prasat Wat Phu
temple, Laos PDR.). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562. จาก
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์. ท่องเที่ยวเกี่ยวบุญปราสาทหินวัดภู. สารคดี. ปีที่ 16 ฉบับ 192. (2544): 94-111
เมธินี
จิระวัฒนา. ปราสาทวัดภู.
ศิลปากร. ปีที่ 38 ฉบับ 5. (2538): 86-114.
สตีเฟ่น ชิพานิ.(2554). Perceptions of the Impacts of
Tourism among Rural Communities in Luang
Namtha, Luang Prabang, Khammouane and Champasak, Lao PDR
(การรับรู้ถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนชนบทใน แขวงหลวงน้าทา
แขวงหลวงพระบาง แขวงคำม่วน และ แขวงจำปาศักดิ์ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว). สืบค้นเมื่อ
16 กันยายน 2562. จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/mekongjournal/article/view/6743
สมชาติ มณีโชติ. ฆ่าควายสังเวยผี
พิธีของชาวข่าที่แขวงสาละวันและปราสาทหินวัดภูแขวงจำปาศักดิ์.
ศิลปวัฒนธรรม.
ปีที่ 15 ฉบับ 6 (2537):114-122.
สวัสดีอาเซียน Sawasdeeasean.
(2559). ปราสาทวัดพู มรดกโลกแห่งสปป.ลาว. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน
2562. จาก https://www.youtube.com/watch?v=oLfcQN7l8Hs.
https://www.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/174013
อุดม บัวศรี.วัดพู :
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวใต้ แห่งนครจำปาสัก. สารมิตรภาพไทย-ลาว. ปีที่ 6
ฉบับ
4 (2542): 15-18.
อรวรรณ เพชรนาค. (2555). คติความเชื่อและรูปแบบของภาพสลัก ปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว.
สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562. จากhttps://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&
browse_type=title&titleid=343222&query=%BB%C3%D2%CA%D2%B7%C7%D1%B4%BE%D9&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-09-30&limit_lang=&limited_
lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1