Wednesday, November 14, 2018

พระลักษมี MahaLakshmi

พระลักษมี

Related image
http://www.thaigoodview.com/files/u116688/e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b8a1e0b8b5.jpg

พระลักษมี กำเนิดจากฟองน้ำ เมื่อเทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดจากน้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย

พระลักษมีเป็นชายาของพระวิษณุ มักจะอวตารไปเป็นคู่ครองของพระวิษณุอยู่ทุกครั้งไป เช่น พระวิษณุอวตารเป็น พระราม พระแม่ลักษมีก็ตามไปเกิดเป็น พระนางสีดาในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวีในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา 


Image result for พระลักษมี
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhfI-KsA6oen5jsM1B32ffcFr_I8Ye8BxZ8qECRJZHRXn2TDC5A375aEwYUiixTK_SQZAUiLc8K3Ek8r-nDp_LZHLTnedGSKmU5lqnIB_IlgFylGLwUWII4mt5Y_KlJPxl2SZpdMfTuIkfx/s1600/VISHNU_LAXMI_by_VISHNU108.gif



Image result for นางสีดา พระราม
https://pixserv.clipmass.com/upload/picture/full/187/6680c8045a4a202243a2c9185180561d.jpg

เทวีแห่งความงาม รูปพระนางจึงมักออกมาเป็นหญิงที่มีความงามที่สุดตามแบบของอินเดีย ตามตำรามักกล่าวกันว่า พระวรกายของพระนางนั้นเป็นสีทอง ทรงพัสตราภรณ์สีเหลือง แดง หรือ ชมพู ประทับนั่งหรือยืนบนดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระนาง บางครั้งก็ประทับบนหลังช้าง ทรงมี 4 พระกรเมื่ออยู่โดยลำพัง แต่ถ้าประทับร่วมกับพระวิษณุแล้ว ก็ทรงมี ๒ พระกรบ้าง 4 พระกรบ้าง รัศมีขององค์พระลักษมีนั้น กล่าวกันว่าสุกปลั่งเป็นประกายอย่างสายฟ้าแลบ กลิ่นหอมจากพระวรกายนั้นหอมราวกับกลิ่นดอกบัว 

เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และความอุดมสมบูรณ์นั้น ถ้าจะมองอีกแง่หนึ่ง ก็หมายถึง พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้อย่างมากมาย อีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรในอินเดียจึงบูชาพระแม่ลักษมีในภาคที่เป็น พระแม่โพสพ 



Related image
http://poojavidhi.net/wp-content/uploads/2018/09/Ashtalakshmi-Hindu-Goddesses-and-Deities-1.jpg


Image result for พระลักษมี
https://scontent-fbkk5-7.us-fbcdn.net/v1/t.1-48/1426l78O9684I4108ZPH0J4S8_842023153_K1DlXQOI5DHP/dskvvc.qpjhg.xmwo/p/data/320/320168-5a6ff0631e5a1.jpg


มีตำนานเกี่ยวกับพระธัญญลักษมีที่เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเกิดทุกขภัยแห้งแล้งกันดารขึ้นในโลก เวลานั้นแสงอาทิตย์ร้อนแรงจนผู้คนออกจากบ้านไม่ได้ เมื่อถึงยามค่ำคืนบรรดาเกษตรกรจึงพากันบูชาพระวิษณุ หากแต่เวลานั้นพระวิษณุบรรทมหลับอยู่ ไม่ได้ยินเสียงวิงวอนของผู้คนในโลก
แต่พระลักษมีทรงได้ยิน และเนื่องจากไม่กล้าปลุกบรรทม พระลักษมีจึงแบ่งภาคมาเป็น พระแม่โพสพ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์โลก โดยทรงนำมหาสังข์ใส้น้ำมาโปรยปรายเป็นฝน และเนรมิตข้าวในนาให้เจริญงอกงาม เป็นที่ปลาบปลื้มยินดีแก่ประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก จนเหลือที่จะพรรณนาได้

Related image
http://ca.lnwfile.com/_/ca/_raw/fb/nf/ed.jpg

ดอกบัว ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก หรือไม่ก็ทรงถือหม้อน้ำ พระหัตถ์หนึ่ง อีก พระหัตถ์หนึ่งหงายลงสู่พื้น มีเหรียญทองโปรยปรายลงจากใจกลางพระหัตถ์นั้น หรือไม่ก็เทออกมาจากในหม้อ เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย บางครั้งก็จะทรงอาวุธบ้าง เช่น จักร อันบ่งความหมายถึงองค์นารายณ์ (พระวิษณุเทพ) 


ช้าง คือพาหนะขององค์พระลักษมี โดยคนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ และความมั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวาย นอกจากช้างแล้ว ชาวอินเดียทั้งหลายก็นับถือ เบี้ยจั่น ว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระลักษมีมาแต่โบราณ  เพราะว่าพระนางทรงเป็นเทวีแห่งโภคทรัพย์ ความร่ำรวย จึงย่อมทรงเกี่ยวข้องกับเงินตรา ซึ่งแทนด้วยเบี้ยจั่นนั้น




ศิลปะที่เกี่ยวกับพระลักษมีที่พบ คือภาพสลักรูปบุคคลในปราสาทกระวานองค์ทิศเหนือสุด คือภาพสันนิษฐานว่าหมายถึงพระลักษมี พระชายาของพระวิษณุ ศิลปะนี้อยู่ในยุคเกาะแกร์ ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นรูปสตรี 1 เศียร ทรงกระบังหน้า รัดเกล้าเป็นแนววงแหวนประดับแผ่นรูปสามเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นเป็นกรวยมี 4 กร ทรงถือสิ่งของ เช่น จักร ตรีศูล ทรงผ้านุ่งจนถึงพระบาท ผ้านุ่งมีริ้วทั้งผืน ด้านหน้ามีชายผ้าเป็นรูปวงโค้งขนาดใหญ่ ใต้แผ่นวงโค้งมีชายเข็มขัดเป็นแถบขนาดใหญ่ที่ด้านซ้ายและด้านขวาของรูปสตรี ตรงกลางมีรูปบุคคลขนาดเล็กนั่งพนมมือ 

Image result for พระลักษมี ปราสาทกระวาน
http://www.sac.or.th/databases/seaarts/media/k2/items/cache/dd45d054dfce696b68bc0b43a11d1bfe_XL.jpg


อ้างอิง
กวิฎ ตั้งจรัสวงค์. (มปป).รูปพระลักษมีภายในปราสาทองค์เหนือสุดของปราสาทกระวาน-PRASAT KRAVAN. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จากhttp://art-in-sea.com/th/data/cambodia-art/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3/item/211-prasat-kravan7.html
ตำนานเกี่ยวกับพระแม่ลักษมี.(2558).ตำนานเกี่ยวกับพระแม่ลักษมี. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.silpathai.net/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A1%E0%B8%B5/
เทวสถาน.(มปป).พระลักษมี. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.devasthan.org/newweb/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A1%E0%B8%B5
พระแม่ลักษมีเทพธิดาแห่งความมั่งคั่งและเทพธิดาแห่งความงาม.(มปป). พระแม่ลักษมีเทพธิดาแห่งความมั่งคั่งและเทพธิดาแห่งความงาม. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/146/religion/laxamihis.htm
สยามคเนศดอทคอท.(มปป).พระแม่ลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย และความรักที่บริบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561. จาก https://www.siamganesh.com/laksmi.html

วัดศรีเมือง

 สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้ง หลังจากห่างหายกันไปสักพัก โดยครั้งก่อนเราได้พาไปเที่ยวพม่าแล้ว วันนี้เรากลับมาเที่ยวกันที่ประเทศเพื่อนบ้านใกล...